เจาะสำรวจดินและทดสอบดิน วิศวกรรมปฐพีกลศาสตร์
งานก่อสร้างในประเทศของเรานั้น ได้มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นโครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียม อาคารโรงงานอุตสาหกรรม โรงแรมขนาดใหญ่ อาคารสาธารณูปโภคพื้นฐาน แน่นอนว่าสิ่งสำคัญที่ทำให้โครงสร้างของสิ่งปลูกสร้างทั้งหลายเหล่านี้ สามารถยืนหยัดและตั้งมั่นอยู่ได้อย่างปลอดภัยคือการมีฐานรากที่มั่นคงแข็งแรง ซึ่งจะต้องตั้งอยู่บนชั้นดินที่มีความแข็งแรงเพียงพอ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ชั้นดินชั้นไหนที่มีคงามแข็งพอ เราก็จะทำการเจาะสำรวจดิน เจาะดิน และทดสอบดิน เพื่อคำนวณหาค่ากำลังรับน้ำหนักของดิน มุ่งสู่การออกแบบฐานรากได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เป็นไปตามหลักวิศวกรรมปฐพีกลศาสตร์ ในกรณีของพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานคร ลักษณะชั้นดินก็จะเป็นชั้นดินเหนียวอ่อน จะมีปัญหาในเรื่องของการทรุดตัวของชั้นดินค่อนข้างสูง หลังจากที่ได้มีการเจาะสำรวจดินและทดสอบดิน ออกแบบฐานรากแล้วเสร็จ พื้นที่เขตกรุงเทพมหานครเหมาะที่จะใช้เสาเข็มยาว พื้นที่บางแห่งก็พบชั้นดินทรายแน่นถึงแน่นมาก เป็นหน้าที่ของวิศวกรโยธาหรือวิศวกรที่ปรึกษาที่จำเป็นต้องให้คำแนะนำในการใช้ฐานรากแผ่ โดยปราศจากการตอกเสาเข็ม คือ ไม่จำเป็นต้องใช้สำเข็มเสมอไป จะว่าไปแล้วเราก็ยังไม่วายที่จะพบดินที่ผิดแปลกแตกต่างไปจากพื้นที่โดยทั่วไป ซึ่งเราจะต้องมีการสังเกตจากสภาพแวดล้อมโดยรอบแล้ว สภาพพื้นดินโดยรวมก็จะเป็นเบอะแสให้กับวิศวกรโยธา ประกอบกับหลักฐานทางสภาพพื้นดินหรือบริเวณที่จะทำการเจาะสำรวจดินและทดสอบดินตามหลักวิศวกรรมปฐพีกลศาสตร์ ก็อาจเป็นไปได้ว่า สภาพชั้นดิน ณ บริเวณนั้นอาจจะมีการถมที่มาแล้ว ดีไม่ดีก็มีการฝากฝั่งสิ่งปฏิกูลหรือเศษวัสดุก่อสร้าง เหล็ก ท่อนไม้ขนาดใหญ่ เศษถุงพลาสติก สิ่งเหล่าก็จะเป็นอุปสรรคที่ทำให้การเจาะดินลงไปได้ยาก ซึ่งถ้าเป็นท่อนไม้ขนาดใหญ่ เราก็จำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องเจาะดินขนาดใหญ่ ในประเด็นของพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นดินอ่อนหรือพื้นที่ซึ่งมีทรายหลวมมากผิดปกติ จากการวินิจฉัยพบว่า พื้นที่บริเวณนี้เคยเป็นบ่อเก่าแก่ หรือเป็นทางที่มีน้ำเคยไหลผ่านมาแต่ครั้งก่อน สิ่งปลูกสร้างที่ตั้งอยู่ ณ บริเวณนี้ อาจเกิดการวิบัติ ถ้าคุณไม่กำหนดให้มีการเจาะสำรวจดิน สิ่งปลูกสร้างที่กำลังจะมีขึ้นแบบใหม่ ๆ สด ๆ ก็อาจวิบัติลงได้เหมือนกับหลาย ๆ ครั้งที่ผ่าน ๆ มา