เจาะดิน เก็บตัวอย่างดินแบบ undisturbed sample
โครงการก่อสร้างอาคารสูงแห่งหนึ่ง ได้ทำการเจาะสำรวจดินด้วยเครื่องเจาะระบบ Wash Boring System ความลึกของหลุมที่ 30.45 เมตร/หลุม Size of Bore Hole is diameter about 4 inch และทำการสร้างระบบเซนเซอร์ด้วยการฝังท่อเหล็กกันดิน (Casing) เพื่อป้องกันไม่ให้ดินพังลงไปในหลุมเจาะดินอีกความลึกประมาณ 7.50 เมตร ระหว่างเจาะสำรวจดิน ได้ทำการเจาะดินและเก็บตัวอย่างดิน เพื่อนำไปทดสอบดินในห้องปฏิบัติการ ซึ่งการทดสอบดินในห้องปฏิบัติการนั้น อุณหภูมิห้องต้องไปตามมาตรฐานที่กำหนด แต่ในที่นี้ผู้เขียนจะขอกล่างถึงและเน้นย้ำไปในเรื่องของการเก็บตัวอย่างดิน ซึ่งการเก็บตัวอย่างดินนั้นจะแบ่งออกได้ตามสภาพของดิน ซึ่งถ้าเป็นดินแบบคงสภาพ หรือ อาจเรียกได้ว่า ดินยังเดิม ๆ อยู่ ไม่มีการถูกรบกวนจากปัจจัยอื่นใด (undisturbed sample) ซึ่งจะเป็นเลือกทำตามคุณสมบัติของดิน คือ SOFT TO MEDIUM CLAY,GREY. ตามมาตรฐาน ASTM D1587 ทุก ๆ เมตรครึ่ง ก็เห็น ๆ กันอยู่ มันคือ กระบอกบาง (Thin wall tube sample) Size of Bore Hole is diameter about 2.5 inch ยาว 50 เซ็นติเมตร นี่คือ กระบอกเก็บตัวอย่างดิน ซึ่งการเก็บตัวอย่างจะทำการกดกระบอกบางด้วยระบบ Hydrautic ด้วยแรงที่เสมอต้นเสมอปลาย เป็นการเซ็นเซอร์ดินถูกก่อกวน ตัวอย่างดินที่เก็บขึ้นมาจากการเจาะสำรวจดินจะถูกปิดปลายกระบอกด้วยขี้แตน พูดเล่นครับ ขี้ผึ้ง เพื่อป้องกันการสูญเสียความชื้น เก็บไว้ในที่ร่ม เพื่อเตรียมส่งเข้าทดสอบดิน ณ ห้องปฏิบัติการ “เหมือนรถติดไฟแดงและอีกไม่กี่วินาทีก็ไฟเหลืองก็เตรียมตัวไปกันแล้ว” ในส่วนของการการเจาะดินในลักษณะของการเก็บตัวอย่างดินแบบเปลี่ยนสภาพ (undisturbed sample) ดินถูกก่อกวนจะเป็นอีกความหมายหนึ่ง ซึ่งเป็นการกระทำใน STIFF CLAY OR SAND LAYER ทุกระยะ 1.50 m. ซึ่งลักษณะดินประเภทนี้จะมีการค่า Blow หรือ Standard Penetration Test (SPT) เป็นไปตามมาตราฐาน ASTM D 1568 เพราะว่ามันดินที่แข็ง จึงต้องมีการตอกตุ้มหนัก 140 ปอนด์ (63.5 กก.) ยกสูง 30 นิ้ว (76 ซม.) ส่งแรงหรือตอกลงไปกระแทกกระบอกผ่า (Spilt spoon sample) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ภายใน 34.9 มม. (1 1/8 นิ้ว) ภายนอก 50.80 มม. (2 นิ้ว) เปรียบเทียบได้กับการใช้ฆ้อนตอกตะปูนั่นเองครับ กระบอกผ่า ก็คือ ตะปู เลยก็ว่าได้ พร้อมจดบันทึกจำนวนครั้งว่าต้องกระแทกถึงกี่ครั้ง ทุกระยะที่กระบอกผ่าจมลงไปในดินทุก 6 นิ้ว รวม 3 ครั้ง (18 นิ้ว) ผลรวมจำนวนครั้งของการกระแทกของ 6 นิ้ว ของ 2 ครั้งสุดท้าย ถูกบันทึกเป็นค่า Blow count (N) มีหน่วยเป็น Blow / Foot ซึ่งตัวอย่างดินที่ได้จะทำ Visual classification เป็นการวิเคราะห์ด้วยตา จากประสบการณ์ของนักเจาะดิน แต่ต้องเป็นไปตามหลักวิชาปฐพีกลศาสตร์ จากนั้นจึงนำดินบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติสามารถป้องกันความชื้น เพื่อนำไปทดสอบดินในห้องปฏิบัติการเป็นลำดับต่อไป ระดับน้ำใต้ดินได้ทำการวัดภายหลังการเจาะสำรวจดินแล้วเสร็จเป็นเวลา 24 ชั่วโมง