เจาะดิน การออกแบบโครงสร้างใต้ดิน วิศวกรรมฐานราก
เจาะดินเพื่อคำนวณหาค่ากำลังรับน้ำหนักของชั้นดิน จากคุณสมบัติของดินในแต่ละชั้น ตามสภาพของพื้นดินที่อยู่ภายในบริเวณของโครงการก่อสร้างนั้นอยู่ เมื่อวิศวกรโยธาที่ปรึกษากับช่างเจาะดินมาถึงพื้นบริเวณโครงการ เราก็จะเริ่มเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการใช้งานในการเจาะดินและก็เริ่มเจาะดินกันเลย หลังจากที่เจาะดินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็จะต้องเก็บตัวอย่างดินเพื่อนำตัวอย่างดินที่ได้ไปทดสอบดินในห้องปฏิบัติการ ในกรณีของอาคารที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร ไม่มีฐานรากหรือเสาเข็มรองรับกับตัวโครงสร้างอาคาร อาคารที่พักอาศัยก็จะทรุดลงได้อย่างแน่นอน ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีฐานรากหรือเสาเข็มเจาะลึกลงไปถึงชั้นดินแข็ง การเจาะดินและทดสอบดินจัดว่าเป็นปัจจัยที่จำเป็นอย่างมากต่ออาคารที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อออกแบบฐานรากที่ถูกต้อง และเหมาะสมกับโครงสร้างอาคารที่พักอาศัยดังกล่าว ในการออกแบบโครงสร้างใต้ดิน เพื่อให้รับกับโครงสร้างของตัวอาคารด้านบน เหนือพื้นดินให้มีความมั่นคง ปลอดภัย ประหยัด และถูกต้องตามหลักวิศวกรรมฐานราก จากความไม่เที่ยงแท้แน่นอน หรือ ไม่ชัวร์ ของสภาพทางพื้นดินวิทยา ทำให้การเลือกชนิดของฐานราก อีกทั้งในเรื่องของ SIZE ของการรับน้ำหนักที่เหมาะสมเป็นคู่กันจนแก่จนเฒ่า ถือไม้เท้ายอดทองกระบองยอดเพชร ต้องเป็นวิศวกรโยธาที่มีความละเอียดรอบคอบเพื่อให้ก่อสร้างนั้นออกมาลงตัวทุกด้าน และมีความสุขกันทุกฝ่าย รวมถึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการนั้น ๆ ด้วย โดยคำนึงถึงปัจจัยความมั่นคงแข็งแรง การดำเนินงานก่อสร้าง การขนย้ายเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง การคมนาคมขนส่ง ตลอดจนแหล่งวัสดุก่อสร้างที่มีอยู่ในบริเวณใกล้เคียง ทั้งนี้เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับโครงการที่ออกแบบไว้สามาถก่อสร้างได้สำเร็จ เป็นระยะเวลาและงบประมาณที่ประมาณการไว้ “ผมขอเป็นกำลังใจให้วิศวกรโยธา ผู้มีใจรักในงานเจาะดินทุกท่าน”