เจาะดิน การจำแนกประเภทดิน สภาพชั้นดินแปรปรวน
จากปัญหาดินอ่อนในเขตกรุงเทพมหานคร จำเป็นต้องกำหนดให้โครงสร้างของอาคารถูกก่อสร้างให้มีความสูงมากขึ้น การเจาะดินและทดสอบดินก่อนการออกแบบโครงสร้างอาคาร ก็จะเป็นการช่วยในเรื่องของความปลอดภัยของอาคาร อีกทั้งยังช่วยประหยัดงบประมาณในการก่อสร้างรวมถึงการจัดสรรทรัพยากรอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ การเจาะดิน ยังมีความหมายรวมถึงการวางแผนด้านการเจาะสำรวจดินในขอบเขตพื้นที่บริเวณโครงการก่อสร้างอาคาร ในกรณีที่เป็นอาคารสูงมาก ๆ ความลึกของหลุมเจาะดินก็จะลึกมากจนถึงชั้นดินแข็งที่สามารถรองรับน้ำหนักโครงสร้างอาคารนั้น ๆ ได้ นอกจากโครงการก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานครแล้ว ก็ยังมีสิ่งปลูกสร้างที่สำคัญที่เรียกว่า เขื่อน วิศวกรโยธาผู้ออกแบบจะไม่สามารถออกแบบฐานรากโครงสร้างของเขื่อน หรือโครงสร้าง กันดินได้อย่างเหมาะสม หากไม่การกำหนดให้มีงานเจาะดินและทดสอบดินเข้ามาพัวพันหรือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการก่อสร้างเขื่อนทั้งหมด เมื่อมีการเจาะดิน พบว่า สภาพชั้นดินอาจมีความแปรปรวนค่อนข้างสูง หรือไม่ตรงกับที่ได้คาดไว้จากข้อมูลดินเดิมจากพื้นที่บริเวณใกล้เคียง จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่วิศวกรที่ปรึกษางานโยธาต้องมีการวางแผน กำหนดตำแหน่งจำนวนหลุมเจาะสำหรับการออกแบบฐานรากของโครงการก่อสร้างอาคารสูงในเขตกรุงเทพมหานคร การเจาะดินนี้จะได้เพียงแค่ข้อมูลทางความลึก ณ ตำแหน่งหลุมเจาะนั้น ๆ โดยจะไม่ทราบข้อมูลชั้นดินบริเวณอื่นหรือชั้นดินระหว่างหลุมเจาะ นอกจากจะใช้หลักประมาณการ หรือคาดคะเนโดยวิธีการลากเส้นเชื่อมโยงลักษณะเฉลี่ยของชั้นดินแต่ละชั้นจากข้อมูลชั้นดินที่ทราบคุณมบัติแล้ว จากหลุมที่ได้มีการเจาะดินจริงเท่านั้น กรณีพบว่า ชั้นดินในพื้นที่โครงการมีความแปรปรวนมาก อาจมีการจัดแยกขอบเขตพื้นที่ตามลักษณะหรือชนิดของชั้นดินที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกัน การแบ่งแยกขอบเขตพื้นที่นี้อาจจัดตามลักษณะคุณสมบัติทางด้านวิศวกรรมปฐพีกลศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็น SOFT CLAY, STIFF CLAY หรือ LOOSE SAND, DENSE SAND ของแต่ละชั้นดินเป็นต้น ที่นี้เพื่อความสะดวกในการจำแนกประเภทดินให้ออกแบบฐานรากได้อย่างเหมาะสมตามกลุ่มชั้นดินที่แตกต่างกัน เนื่องจากมีผลกระทบจากปัจจัยที่มีผลต่อการแปรปรวนของสภาพชั้นดิน จึงควรมีการตรวจสอบปรับแก้ข้อมูลเพื่อใช้ในการออกแบบฐานรากให้สอดคล้องกับคุณสมบัติที่ได้จากสถานที่จริงอย่างใกล้ชิดโดยวิศวกรโยธามืออาชีพอีกครั้ง และอาจต้องทบทวนหรือปรับแก้การออกแบบก่อสร้างฐานรากทันที หากพบว่า ชั้นดินบริเวณโครงการก่อสร้างไม่ตรงกับข้อมูลเดิม หรือจะเป็นข้อมูลที่เคยมีการเจาะดินไว้แล้วมีน้อย ไม่เพียงพอที่จะครอบคลุมความแปรปรวนของชั้นดินที่แตกต่างกันมาก ๆ ในแต่ละจุดได้ ดังนั้นจึงควรมีการเจาะดินเพิ่ม หรือ เพิ่มจำนวนหลุมเจาะ